รายละเอียดโครงการ

หลัรกการและเหตุผล

ในภาวะภัพิบัติน้ำท่วม หากประชาชนส่วนใหญ่มีการเตรียมการที่ดี จะสามารถลดภัยพิบัติไปได้มาก เช่น การอพยพตั้งแต่เนิ่นๆ หรือการป้องกันที่เป็นไปตามหลักวิชาการที่ใช้งานได้จริง ซึ่งรวมไปถึงการกินอยู่ ปัจจัยสี่ปกติ และเรามักเห็นบ่อยครั้งที่ในสถานการณ์ภัยพิบัติน้ำท่วม จะต้องเห็นการแจกถุงยังชีพ (ชั่วคราว) เป็นสัญลักษณ์ของการเข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ เพราะผู้ประสบภัยนั้นมีความเดือดร้อนเฉพาะหน้าอย่างแท้จริง แต่หากมีการเตรียมตัวที่ดี ผู้ประสบภัยสามารถเตรียมการ "ถุงยังชีพสำหรับส่วนตัว หรือครอบครัว" ได้ หรือแม้แต่การเตรียมการ "ถุงยังชีพสำหรับชุมชน" ได้เช่นกัน ถุงยังชีพถาวรที่กล่าวถึงนั้น หมายถึง การมีฐานะทางเศรษฐกิจของครัวเรือน และชุมชนที่ดี มีการรวมตัวที่ดี พร้อมที่จะรับมือกับสถานการณ์ภัยพิบัติ ของชุมชนตัวเอง เพื่อช่วยสมาชิกในชุมชนร่วมกัน และจะเป็นเครือข่ายในพื้นที่ใกล้เคียง ถักทอ ร้อยเรียง เกื้อหนุนซึ่งกันและกันได้

ขั้นตอนการดำเนินการโครงการ
  1. จัดทำโปสเตอร์ภาพวาดด้วยกาแฟ ของคนพิการทุพพลภาพ จำนวน 1 หมื่นใบ และประกาศขอรับบริจาคตามจิตศรัทธา รับโปสการ์ด 1 ใบ เพื่อเขียนให้กำลังใจผู้ประสบภัย โดยวางตามจุดรับบริจาคต่างๆ ของภาคีอาสาสมัครช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ (อ่านรายละเอียดสำหรับการรับบริจาค ณ จุดรับบริจาค) และการรับบริจาคผ่านทางช่องทางอินเตอร์เน็ต (อ่านรายละเอียดสำหรับการรับบริจาคผ่านทางอินเตอร์เน็ต)
  2. เงินบริจาครวบรวมเข้าบัญชี "กองทุนร้อยน้ำใจ" ของมูลนิธิโอเพ่นแคร์ โดยระบุ "โครงการถุงยังชีพถาวร" เพื่อเป็นการะบุวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน
  3. ชุมชนที่โดนผลกระทบภัยพิบัติน้ำท่วม ส่งโครงการฟื้นฟูอาชีพของชุมชนหลังน้ำท่วม ตามข้อกำหนดของโครงการถุงยังชีพถาวร (อ่านรายละเอียดข้อกำหนดของโครงการการถุงยังชีพถาวร)
  4. ประกาศโครงการที่ส่งเรื่องเข้ามา พิจารณาโครงการ โดยมีวตถุประสงค์หลักๆ คือ ให้ผู้ประสบภัยในชุมชนมีความสามัคคี ช่วยเหลือกันทั้งในยามปกติ และภาวะภัยพิบัติ สามารถฟื้นฟูอาชีพของคนในชุมชนได้จนมีฐานะทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น โดยตัวโครงการเป็นการจุดประกายการรวมตัวเท่านั้น และให้แนวทาง ซึ่งจะทำให้มีความเข้มแข็งของชุมชน และในภาวะภัยพิบัติ ชุมชนสามารถบริหารจัดการชุมชน และคนในชุมชนอย่างเป็นระบบ
  5. ประกาศโครงการที่ผ่านการพิจารณาเป็นลำดับ ชุดที่ 1 และชุดที่ 2 ในเบื้องต้น
  6. ส่งมอบเงิน ให้กับชุดที่ 1 ทั้ง 10 โครงการ (งบประมาณโครงการละ 1 แสนบาทต่อชุมชน)
  7. ติดตามการดำเนินโครงการของชุมชนที่ผ่านการพิจารณา ทั้ง 20 โครงการ
  8. นำข้อมูลแสดงบนเว็บไซต์ เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการ และเพื่อการติดตาม ตรวจสอบ

ระยะเวลาโครงการ
  • โครงการหลัก "ถุงยังชีพถาวร เำพื่อการฟื้นฟูอาชีพขผู้ประสบถัยหลังภัยพิบัติน้ำท่วม" รวม 9 เดือน
  • โครงการของชุมชนผู้ประสบภัย โครงการละ 4 เดือน

งบประมาณโครงการ
  • รับบริจาครวมเป็นเงิน 1 ล้านบาท พิจารณา 20 โครงการ โครงการละ 1 แสนบาท โดยให้ 10 โครงการแรก ได้รับเงินไปทั้งหมด และให้โครงการที่ 11-20 คอยติดตามตรวจสอบ 10 โครงการแรก ในการคืนเงินบริจาค เพื่อนำไปทำโครงการของ 11-20 ต่อไป หากโครงการประสบความสำเร็จอย่างดี จะพิจารณาโครงการที่ 21-30 มาคอยตรวจสอบ และรับส่งมอบเงินต่อไป

ผลของโครงการที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกิดการรวมตัวกันของชุมขนอย่างเป็นระบบ และขึ้นทะเบียนประชากรในชุมชน
  2. ในภาวะภัยพิบัติผู้นำชุมชน และชุมชน ติดต่อขอรับความช่วยเหลือในระดับชุมชนได้ ลดการแย่งชิงถุงยังชีพ และการช่วยเหลือที่ทั่วถึง
  3. นำเงินบริจาคไปพัฒนาอาชีพของคนในชุมชน โดยมีการบริหารจัดการที่ดี สามารถคืนทุนบริจาคได้ เพื่อนำเงินบริจาคส่งต่อไปยังชุมชนต่อไป
  4. เกิดการเรียนรู้การอยู่ร่วมกันอย่างสามัคคีของชุมชน
  5. เกิดการเรียนรู้การพึ่งตนเอง และชุมชน ในภาวะภัยพิบัติ