โครงการศูนย์การเรียนรู้ไผ่

ความเป็นมาโครงการ :

หลังจากที่ผมได้มีโอกาสเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยทำงานผ่านระบบของ Thaiflood.com ทำให้คนพิการรุนแรงทุพพลภาพอย่างผมสามารถช่วยเหลือผู้อื่นที่กำลังเดือนดร้อนได้ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2553 และได้จัดตั้งกลุ่ม "อาสาสมัครคนพิการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ" ซึ่งทีมงานเป็นคนพิการทั้งหมด โดยทำงานผ่านระบบอินเตอร์เน็ตทั่วประเทศ

ระหว่างการทำงานอาสา ในขณะที่ตัวผมเองก็เป็นผู้ประสบภัยน้ำท่วมอยู่ที่ อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี ในปี พ.ศ.2554 ซึ่งเป็นมหาอุทกภัยของประเทศไทย ได้รับชมข่าวสะเทือนใจที่มีผู้ประสบภัยจมน้ำเสียชีวิตและในมือยังกำถุงยังชีพอยู่ ทำให้สะเทือนใจอย่างมาก และตั้งปณิธานว่า จะพยายามทำโครงการที่ทำให้ผู้ประสบภัย สามารถฟื้นฟูอาชีพตัวเองได้ จนมีกำลังทรัพย์ มีแนวคิด ที่จะดูแลตัวเอง ดูแลครอบครัว มีการเตรียมการ หากทราบว่าตัวเองต้องกลายเป็นผู้ประสบภัย จนไม่จำเป็นต้องพึ่งถุงยังชีพจากที่ใด ยกเว้นถุงยังชีพพระราชทาน เพื่อไว้เป็นกำลังใจจากพระบรมราชวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ จึงได้ก่อตั้งโครงการถุงยังชีพถาวรเพื่อการฟื้นฟูอาชีพผู้ประสบภัย ขึ้นมา

และได้เริ่มโครงการแรก คือ การฟื้นฟูอาชีพการทำนาข้าวตามวิถีเกษตรอินทรีย์ จนประสบความสำเร็จในขั้นต้น เกษตรกรในโครงการสามารถมีผลผลิตถึงมากกว่า 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ และยังทำการพัฒนาผลผลิตอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน และในโครงการต่อมา คุณปรเมศวร์ มินศิริ Thaiflood.com ได้มีความตั้งใจแน่วแน่ ที่จะช่วยเหลือผู้ประสบภัยแบบบูรณาการ และนำเสนอไอเดีย "การบริหารจัดการพื้นที่น้ำท่วมถึง" กอปรกับผมมีความสนใจในเรื่องการปลูกไผ่ จึงนำเสนอโครงการนี้ต่อคุณปรเมศวร์ จนได้รับการสนับสนุนอย่างเป็นรูปธรรม


และเรายังสามารถดำเนินการโครงการช่วยเหลือผู้ประสบภัย ให้ได้ผลอย่างรวดเร็ว และเป็นรูปธรรม เนื่องจากได้รับเงินบริจาค จากกลุ่มอาสาสมัครชาวต่างประเทศ BangkokVanguards ที่บริจาคทั้งโครงการปลูกข้าวด้วยเกษตรอินทรีย์์ และโครงการศูนย์การเรียนรู้ไผ่ เราจึงได้ตั้งชื่อเพิ่มในส่วนของชื่อกำกับของศูนย์การเรียนรู้ไผ่ เป็น

"ศูนย์การเรียนรู้ไผ่ ธรรมามูล-แบงคอกแวนการ์ด"


นโยบายของศูนย์การเรียนรู้ไผ่ฯ :

เราจะเป็นศูนย์การเรียนรู้ไผ่ โดยเฉพาะไผ่กิมซุ่ง ที่สามารถทนต่อสภาวะน้ำท่วมขังเป็นเวลานานได้ เราจึงมั่นใจว่า ไผ่กิมซุ่งนั้นจะเป็นทางออกของการใช้พื้นที่ดินที่มีน้ำท่วมถึงเป็นประจำอย่างมีประโยชน์คุ้มค่า และสามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร ซึ่งอยู่ในพื้นที่น้ำท่วม อย่างสม่ำเสมอตลอดทั้งปี

การดำเนินการ :

พื้นที่ของศูนย์ฯ จะแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ
  1. พื้นที่ส่วนกลางสำหรับการจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น ลานกิจกรรม ลานเอนกประสงค์ ลานแสดงพันธุ์ไผ่ชนิดต่างๆ เป็นต้น ประมาณ 20% ของพื้นที่ 
  2. พื้นที่สำหรับปลูกไผ่กิมซุ่ง ไว้ทำกิ่งพันธุ์  ประมาณ 20% ของพื้นที่ 
  3. พื้นที่สำหรับปลูกไผ่กิมซุ่ง ไว้ตัดหน่อไม้เพื่อจำหน่าย  ประมาณ 40% ของพื้นที่ 
  4. พื้นที่สำหรับปลูกไผ่กิมซุ่ง ไว้ตัดลำต้น ประมาณ 20% ของพื้นที่ 
ศูนย์ฯ จะทำหน้าที่สำคัญ 3 ข้อ คือ
  1. เป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับเกษตรกร ในการนำไปประกอบอาชีพ
  2. เป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับอาสาสมัคร และเยาวชน เพื่อเป็นการสร้างจิตอาสาให้กับสังคมไทย
  3. เป็นแหล่งผลิตรายได้ เมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้ว รายได้ส่วนหนึ่งจะนำไปจัดตั้ง "กองทุนช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ประสบภัย" ต่อไป
หมายเหตุ : โครงการนี้เมื่อมีรายได้เข้ามาแล้วจะนำเงินบริจาคทั้งหมด ส่งคืนกลับมูลนิธิ OpenCARE เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่อื่นต่อไป ตาม "โครงการถุงยังชีพถาวรเพื่อการฟื้นฟูอาชีพผู้ประสบภัย"

ภาพรวมของโครงการ :

หลังจากการปลูกพันธุ์ไผ่ ในวันที่ 14-15 กรกฎาคม พ.ศ.2555 แล้ว จะรอให้ไผ่เจริญเติบโตจนถึงระยะ 7-8 เดือน จะมีการกำหนดทำพิธีเปิดโครงการอย่างเป็นทางการต่อไป

หากท่านใดมีความสนใจในการเข้าร่วมโครงการในระยะที่ 1 คือ การปลูกพันธุ์ไผ่ ในวันที่ 14-15 กรกฎาคม พ.ศ.2555 สามารถติดต่อ คุณปรีดา ลิ้มนนทกุล 086-314-7866 และหากประสงค์จะสนับสนุนโครงงการสามารถบริจาคได้ตามรายละเอียดดังนี้


"โอนเงินเข้า บัญชี "มูลนิธิโอเพ่นแคร์เพื่องานอาสาฟื้นฟูผู้ประสบภัยพิบัติ" SCB ธนาคารไทยพาณิชย์ เลขที่ 402-177853-3 และรบกวนแจ้งการโอนงินที่แบบฟอร์มนี้http://selfreliefpackage.blogspot.com/2011/10/6.html แล้วติดต่อเพื่อแจ้งการโอนเงินแล้วที่ คุณปรีดา ลิ้มนนทกุล 086-314-7866 หรือ preeda.limnontakul@gmail.com"

ขอบคุณครับ


บทความที่กำลังดำเนินการเรื่องศูนย์เรียนรู้ไผ่ฯ : 

2 กรกฎาคม 2555 @ ประชุมการเตรียมงานในวันปลูกพันธุ์ไผ่ และการทำ Lay out ของศูนย์การเรียนรู้ไผ่ ธรรมามูล-แบงคอกแวนการ์ด ต.ธรรมามูล จ.ชัยนาท : สวัสดีครับ เพื่อนๆ หลังจากที่ทุกคน คือ พี่ดวงพร พี่หนุ่ม อาวดี อาฟอร์ด ได้เดินทางมาถึงทีศูนย์การเรียนรู้พันธุ์ข้าวบ้านดักคะนน เรียบร้อยแล้ว เราก็เริ่มประชุมกันเรื่องกำหนดการของการทำกิจกรรมก่อนวันงาน และในวันงาน 14-15 กค.55 ที่จะถึงนี้ แล้วได้ข้อสรุปเป็นกิจกรรมที่จะมีคนมาร่วมกว่า 100 คน จากนั้นเราได้ประชุมกันต่อเรื่องการวางแผนงานการใช้พื้นที่จำนวน 5 ไร่ในการวางแบบแปลนในการปลูกไผ่ ที่มีทั้งหมด 4 พื้นที่ คือ พื้นที่เอนกประสงค์ พื้นที่ปลูกกิ่งพันธุ์ พื้นที่ปลูกเพื่อตัดหน่อ และพื้นที่ปลูกเพื่อตัดลำต้น .....อ่านต่อ 


28 มิถุนายน 2555 @ ไปแวะดูที่ดินที่ได้มีการปรับพื้นที่สำหรับการทำศูนย์การเรียนรู้ไผ่ ธรรมามูล-BangkokVanguards ที่ ต.ธรรมามูล จ.ชัยนาท : สวัสดีครับเพื่อนๆ วันนี้ผมรีบมารีบไปนะครับ จะให้ทุกอย่างเสร็จสิ้นก่อนเที่ยง เพราะเป็นงานด่วนอ่านงานด่วนได้ที่ลิงก์นี้นะครับ ส่วนงานแถมคือ แวะไปเยี่ยมที่ดินในโครงการ "ศูนย์การเรียนรู้ไผ่ ธรรมามูล-แบงคอกแวนการ์ด" ที่ทางกำนันธวัชชัยดูแลอยู่นะครับ บนเนื้อที่ 4-5 ไร่ โดยพี่ดวงพร เป็นผู้ลงไปในพื้นที่และถ่ายภาพให้ครับ ซึ่งเกิดจากการใช้รถแทรกเตอร์มาจัดการ 2 วัน สามารถดูหน้าตาพื้นที่เดิมที่ลิงก์นี้ อย่างรวดเร็วครับ แล้วเดี๋ยวเราจะมาประชุมเรื่องนี้กันอีกครั้งในวันที่ 2 กค.55 ครับ .....อ่านต่อ 

18 มิถุนายน 2555 @ ไปเยี่ยมชมสวนไผ่กิมซุ่ง ที่สวนเกษตรทิพยสมบัติ จ.กาญจนบุรี : สวัสดีครับเพื่อนๆ วันนี้หลังจากที่เราเดินทางไปเอาน้ำหัวเชื้อ EM จำนวน 3 ถัง (ถังละ 150 ลิตร) แล้ว ก็รีบเดินทางไปสวนเกษตรทิพยสมบัติ จ.กาญจนบุรี กันทันที แต่ต้องแอบบ่นว่า ไกลมากครับ กำนันธวัชชัยมาช่วยขับรถให้นะครับ เพราะว่านอกจากน้ำ EM ที่สามารถจะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับการทำเกษตรอินทรีย์แล้ว การไปกาญจนบุรีครั้งนี้พวกเราไปเยี่ยมสวนเกษตรทิพยสมบัติ เพื่อดูพันธุ์ไผ่กิมซุ่งที่ไม่มีหนาม และหน่อไม่มีขน .....อ่านต่อ 


1 มิถุนายน 2555 @ ปะชุมโครงการปลูกสวนไผ่ (โครงการถุงยังชีพถาวรเพื่อการฟื้นฟูอาชีพผู้ประสบภัย) และเยี่ยมพื้นที่โครงการ ที่ต.ธรรมามูล จ.ชัยาท : สวัสดีครับเพื่อนๆ หลังจากงานวันรับเสด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เมื่อวาน ผมก็ต้องรีบกลับบ้าน ซึ่งแต่เดิมนั้นตั้งใจว่าจะนอนค้างที่ชัยนาท แต่ว่าไม่ไหว ร้อนมากๆ ครับทำให้ต้องเอาน้ำราดตัว ตัวเปียกแฉะหมด แต่ถ้าไม่ทำแบบนี้ผมก็จะร้อนมากๆ ดังนั้นจึงต้องกลับบ้านไปเช็ดตัว ขับถ่าย รุ่งขึ้นคือวันนี้ก็รีบมาใหม่ โดยผมไปแวะคุยงานเรื่องการขายสมาชิกเว็บไซต์เรียนรู้ภาษาอังกฤษ ส่วนพี่หนุ่มไปเยี่ยมเกษตรกรที่ใช้วิธีเกษตรอินทรีย์ .....อ่านต่อ


26 พฤษภาคม 2555 @ ไปสำรวจเบื้องต้นที่ดินทดลองปลูกสวนไผ่ ภายใต้โครงการถุงยังชีพถาวรฯ ที่จะช่วยเกษตรกรที่ประสบภัยน้ำท่วมอีกโครงการ พื้นที่ ต.ธรรมามูล จ.ชัยนาท : สวัสดีครับเพื่อนๆ ผมตื่นเต้นมากที่กำลังจะได้ทำโครงการปลูกสวนไผ่ ภายใต้โครงการถุงยังชีพถาวรเพื่อการฟื้นฟูอาชีพผู้ประสบภัย ในพื้นที่ของ ต.ธรรมามูล จ.ชัยนาท จากเดิมที่เคยมีความคิดว่าจะทำสวนไผ่เองเพื่อเป็นตัวอย่างให้เกษตรกรได้ทราบประโยชน์ แต่ตอนนี้ไม่ต้องแล้วครับ หันมาสนใจงานด้านเกษตรอินทรีย์ไม่ถึง 1 ปี กลับได้รับการสนับสนุนอย่างมากจากผู้ใหญ่ที่ จ.ชัยนาท คือ พี่ดวงพร อิฐรัตน์ ที่ช่วยประสานงานทุกหน่วยงานในพื้นที่ ได้ร่วมมือกับผู้นำชุมชนเก่งๆ หลายท่าน .....อ่านต่อ
6 มิถุนายน 2555 @ นัดปรึกษางานโครงการปลูกสวนไผ่ และงานโครงการเข้าค่ายภาษาอังกฤษให้กับ 3 มหาวิทยาลัย ที่ ร้าน KFC ใน BIG C สะพานควาย : สวัสดีครับเพื่อนๆ หลังจากผมได้ไปร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการของกระทรวงไอซีทีแล้ว ผมก็มาตามนัดหมายพบกับคุณไมเคิล ที่ Big C สะพานควาย คุณไมเคิลนั่งรถไฟฟ้ามา ส่วนผมก็นั่ง TAXI ไปเจอกัน เรามีนัดกันคุยเรื่องความคืบหน้าของโครงการปลูกสวนไผ่ และโครงการการพัฒนาภาษาอังกฤษให้กับนักศึกษาปริญญาตรี โดยเราจะแบ่งงานกันเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนการฝึกทักษะการฟัง ซึ่งผมจะดูแล ส่วนการเข้าค่ายร่วมกับชาวต่างชาติ ผมเสนอให้คุณไมเคิลดูแล .....อ่านต่อ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น