โครงการส่งเสริมปลูกข้าวด้วยวิถีเกษตรอินทรีย์
(ภาพชาวต่างประเทศกลุ่ม BangkokVanguards กำลังดำนา)
นโยบายของโครงการส่งเสริมการปลูกข้าววิถีเกษตรอินทรีย์ :
เราจะส่งเสริมให้เกษตรซึ่งเป็นผู้ประสบภัย และมีวิถึชีวิตในการปลูกข้าว ได้หันกลับมาใช้วิถีเกษตรอินทรีย์ในการปลูกข้าว เพื่อให้เกษตรกรมีสุขภาพที่ดีขึ้นเนื่องจากไม่ต้องใช้สารเคมี ลดต้นทุน และเป็นการเพิ่มผลผลิต ทำให้สามารถลดภาระหนี้ และมีรายได้ในการเตรียมตัว เตรียมความพร้อม หากมีภัยพิบัติอีกครั้ง เมื่อผู้ประสบภัยที่ร่วมโครงการได้เก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ก็จะนำเงินต้นทุนคืนกลับยังมูลนิธิ OpenCARE เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยอื่นต่อไป และเรายังคงติดตามว่า ผู้ประสบภัยยังคงดำเนินวิถีเกษตรอินทรีย์ต่อไปหรือไม่ ด้วยการจัดตั้งกลุ่มระดับตำบล ให้เป็นกลุ่มเชิงพาณิชย์ที่มีเงินกองทุนระดับตำบล เพื่อคอยดูแล ส่งเสริมทุกๆ คนต่อไป (ประเด็นการจัดตั้งกลุ่มนั้น หากสำเร็จมีการทำงานเป็นรูปองค์กรเรียบร้อย จะนำมาแบ่งปันต่อไปครับ)
การดำเนินการ :
ขั้นตอนการพิจารณา และดำเนินการ สำหรับเกษตรกร คือ
หมายเหตุ : โครงการนี้เมื่อมีรายได้เข้ามาแล้วจะนำเงินบริจาคทั้งหมด ส่งคืนกลับมูลนิธิ OpenCARE เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่อื่นต่อไป ตาม "โครงการถุงยังชีพถาวรเพื่อการฟื้นฟูอาชีพผู้ประสบภัย"
ภาพรวมของโครงการ :
ขณะนี้เรากำลังเดินหน้าในการให้ความรู้กับเกษตรกรก่อนเป็นสำคัญ โดยการร่วมมือกับศูนย์การเรียนรู้พันธุ์ข้าวบ้านดักคะนน ซึ่งเป็นจุดประชาสัมพันธ์โครงการอย่างดี และกำลังจะทำการทดลองการปลูกข้าว 1 ไร่มากกว่า 100 ถัง ถึง 300 ถัง และทำการทดลองนำสารอาหารพืชอินทรีย์ในตลาดทั้งหมด มาทดลองปลูกข้าวเพื่อเป็นตัวอย่างให้เกษตรกรได้ทราบข้อมูลเพื่อการตัดสินใจต่อไป โดยมีพื้นที่เป้าหมายในครั้งต่อไป 5,000 ไร่
หากท่านใดมีความสนใจในการเข้าร่วมโครงการในระยะที่ 1 คือ การปลูกพันธุ์ไผ่ ในวันที่ 14-15 กรกฎาคม พ.ศ.2555 สามารถติดต่อ คุณปรีดา ลิ้มนนทกุล 086-314-7866 และหากประสงค์จะสนับสนุนโครงงการสามารถบริจาคได้ตามรายละเอียดดังนี้
"โอนเงินเข้า บัญชี "มูลนิธิโอเพ่นแคร์เพื่องานอาสาฟื้นฟูผู้ประสบภัยพิบัติ" SCB ธนาคารไทยพาณิชย์ เลขที่ 402-177853-3 และรบกวนแจ้งการโอนงินที่แบบฟอร์มนี้http://selfreliefpackage.blogspot.com/2011/10/6.html แล้วติดต่อเพื่อแจ้งการโอนเงินแล้วที่ คุณปรีดา ลิ้มนนทกุล 086-314-7866 โดยแจ้งรายละเอียดการโอนทาง sms หรือส่งมาที่อีเมล์ preeda.limnontakul@gmail.com"
ขอบคุณครับ
2 กรกฎาคม 2555 @ ติดตามผลการทำนาทดลอง 1 ไร่ได้ผลผลิต 300 ถัง ที่ศูนย์การเรียนรู้พันธุ์ข้าวบ้านดักคะนน ต.ธรรมามูล จ.ชัยนาท : สวัสดีครับเพื่อนๆ ในวันเดียวกันขณะที่ผมกำลังสอนคอมพิวเตอร์ให้กับเจ้าหน้าที่ของศูนย์การเรียนรู้พันธุ์ข้าวฯ เสร็จพอดี คุณจำนงค์ ได้ขับมอเตอร์ไวค์คู่ชีพ พร้อมภรรยาซ้อนท้าย ผ่านมาพอดี กำนันธวัชชัยจึงได้ตะโกนเรียก แล้วพี่จำนงค์ ก็วกรถกลับมานั่งคุยกันเรื่องผลการปลูกนาข้าว ซึ่งพี่เขาค่อนข้างพอใจมากกับผลที่ได้รับ เพราะเท่าที่ฟังจากพี่เขาแล้ว คือ ต้นข้าวมีสีเขียวเข้ม และแข็งแรงมาก จนทำให้นาข้างๆ ถามว่าใส่ยูเรียเยอะใช่ไหม พี่เขาก็บอกว่าใส่แค่คั้งแรกคครั้งเดียวเท่านั้น .....อ่านต่อ
28 มิถุนายน 2555 @ ไปเยี่ยมเกษตรกร (พิการและเป็นผู้ประสบภัย) แบบด่วนๆ พื้นที่ ต.ธรรมามูล จ.ชัยนาท : สวัสดีครับเพื่อนๆ วันนี้มีงานด่วน งานเร่งเล็กน้อย ที่ต้องรีบเร่งไปที่จังหวัดชัยนาท แทนพี่หนุ่ม เพราะว่ามีเกษตรกรที่เป็นทั้งคนพิการ และผู้ประสบภัยมีความต้องการปุ๋ยอินทรีย์ด่วน ผมจึงตัดสินใจเป็นธุระให้ เนื่องจากเขาได้จ้างคนหว่านปุ๋ยมาแล้ว แต่เกิดความผิดพลาดในการนัดหมาย พี่หนุ่มจึงนำมาฝากผม และผมก็รีบออกจากบ้านแต่เช้า โดยเราไปแวะที่ศูนย์การเรียนรู้พันธุ์ข้าวบ้านดักคะนน เพื่อไปรับเอกสารส่งมอบสินค้า และถ่ายภาพแปลงนาทดลองมาฝากด้วยครับ .....อ่านต่อ
11 มิถุนายน 2555 @ ไปร่วมประชุมกับทางคูโบต้า ในการร่วมกันทำงานวิจัยการเพิ่มผลผลิตข้าวเปลือก ที่ศูนย์การเรียนรู้พันธุ์ข้าวชุมชนดักคะนน จ.ชัยนาท : สวัสดีครับเพื่อนๆ บทความครั้งนี้ เป็นอีกวันที่ผมได้ประสานงานกับทาง คูโบต้า ที่ผลิตเครื่องดำนา และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร ผมได้เบอร์คุณต่อมาจากโฆษณาเครื่องดำนาในยุคแรกของคูโบต้า เมื่อปี 2547 จากหนังสือพิมพ์ที่ผมตัดเก็บไว้ เพราะเวลาผมอ่านหนังสือพิมพ์แล้วถ้ามีอะไรเช่น ข่าว บทความ โฆษณา ผมจะตัดเก็บเอาไว้ คือเก็บไว้ก่อน ยังไม่ใช้ไม่เป็นไร จึงทำให้เป็นจุดหนุ่งที่ทำให้ผมสามารถต่ิดต่อกับคุณต่อ ของคูโบต้า ได้ในแบบที่รู้สึกสนิทได้เร็วขึ้นครับ .....อ่านต่อ
10 มิถุนายน 2555 @ พี่ปรเมศวร์ มินศิริ มาเยี่ยมที่บ้านและคุยงานเรื่องการรับมือภัยพิบัติในส่วนที่ผมสามารถรับผิดชอบได้ครับ : สวัสดีครับเพื่อนๆ หลังจากที่ผมได้ไปประชุมกับกำนันธวัชชัยที่ศูนย์การเรียนรู้พันธุ์ข้าวบ้านดักคะนน เรื่องการทำการตลาดข้าวให้กับเกษตรกรผู้ประสบภัย ที่จังหวัดชัยนาท ก็ได้รับข้าวสารมาจากกำนันธวัชชัย เพื่อนำมาถ่ายภาพสำหรับใช้ในการประชาสัมพันธ์โครงการดังกล่าว โดยผมต้องนำเรื่องนี้เข้าคุย ปรึกษากับพี่ปรเมศวร์ มินศิริ ต่อไปเพื่อการวางแผนงาน จึงทำให้ต้องนัดหมายพี่ปรเมศวร์ และพี่ปรเมศวร์ วันนี้จะมาคุยเรื่องนี้กับผมที่บ้านครับ .....อ่านต่อ
9 มิถุนายน 2555 @ ไปประชุมการเตรียมงานปลูกสวนไผ่ และการเตรียมงานการจำหน่ายข้าวปลอดสารพิษที่ทางศูนย์การเรียนรู้พันธุ์ข้าวฯ สีข้าวเอง ที่จังหวัดชัยนาท : สวัสดีครับเพื่อนๆ หลังจากที่ได้ไปเยี่ยมชมฟาร์มโคนมไทย-เดนมาร์ค ที่สระบุรีแล้ว ก็รีบมาหากำนันธวัชชัย ที่ศูนย์การเรียนรู้พันธุ์ข้าวชุมชนดักคะนน ที่ ต.ธรรมามูล จ.ชัยนาท เพราะว่าจะมาประชุมกันเรื่องปลูกสวนไผ่ เพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้เกี่ยวกับไผ่ ในการฟื้นฟูและเสริมสร้างอาชีพในพื้นที่ประสบภัย โดยพื้นที่ที่ใช้ในโครงการนั้นติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา มีความเสี่ยงน้ำท่วม และเป็นพื้นที่น้ำท่วมเมื่อครั้งน้ำท่วมใหญ่ 2554 ที่ผ่านมา .....อ่านต่อ
6 มิถุนายน 2555 @ นัดปรึกษางานโครงการปลูกสวนไผ่ และงานโครงการเข้าค่ายภาษาอังกฤษให้กับ 3 มหาวิทยาลัย ที่ ร้าน KFC ใน BIG C สะพานควาย : สวัสดีครับเพื่อนๆ หลังจากผมได้ไปร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการของกระทรวงไอซีทีแล้ว ผมก็มาตามนัดหมายพบกับคุณไมเคิล ที่ Big C สะพานควาย คุณไมเคิลนั่งรถไฟฟ้ามา ส่วนผมก็นั่ง TAXI ไปเจอกัน เรามีนัดกันคุยเรื่องความคืบหน้าของโครงการปลูกสวนไผ่ และโครงการการพัฒนาภาษาอังกฤษให้กับนักศึกษาปริญญาตรี โดยเราจะแบ่งงานกันเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนการฝึกทักษะการฟัง ซึ่งผมจะดูแล ส่วนการเข้าค่ายร่วมกับชาวต่างชาติ ผมเสนอให้คุณไมเคิลดูแล .....อ่านต่อ
1 มิถุนายน 2555 @ ไปเยี่ยมเกษตรกรซึ่งเป็นผู้ประสบภัยน้ำท่วม ในโครงการถุงยังชีพถาวรฯ พื้นที่ ต.สรรพยา ต.ธรรมามูล จ.ชัยนาท : สวัสดีครับเพื่อนๆ สำหรับวันนี้ผมกับพี่หนุ่มมาหลายงาน หลายส่วนนะครับ จึงขอแยกเป็นแต่ละบทความ โดยบทความนี้ ผมขอเน้นไปในส่วนของการเยี่ยมเกษตรกรที่ใช้วิธีเกษตรอินทรีย์ ภายใต้โครงการถุงยังชีพถาวร เพื่อการฟื้นฟูอาชีพผู้ประสบภัย ซึ่งเราทำหลายพื้นที่ ในช่วงเช้านี้เราไปเยี่ยมคุณจำนงค์ ที่ทำนาถึง 109 ไร่ก่อน แต่ไม่อยู่นะครับ จึงแวะไปถ่ายภาพมาให้เพื่อนๆ ดูก่อน เป็นบการดำนาที่ระยะห่างประมาณ 15-20 เซนติเมตร (ตามภาพข้างล่าง) ครับ .....อ่านต่อ
26 พฤษภาคม 2555 @ ไปสอนการใช้เครื่อง PZent ให้กับทางศูนย์การเรียนรู้พันธุ์ข้าวดักคะนน ต.ธรรมามูล จ.ชัยนาท เพื่อใช้งานในวันรับเสด็จสมเด็จพระเทพรัตนราชสุด สยามบรมราชกุมารีฯ : สวัสดีครับเพื่อนๆ วันนี้ผมพาเพื่อนๆ ไปที่ศูนย์การเรียนรู้พันธุ์ข้าวชุมชนดักคะนน ต.ธรรมามูล จ.ชัยนาท อีกครั้งนะครับ ไม่ต้อง งงนะครับ เพราะว่าผมกับพี่ๆ อีกหลายท่านที่กำลังทำงานในพื้นที่จังหวัดชัยนาท ต้องมาช่วย มาร่วม มาส่งเสริมที่ศูนย์การเรียนรู้พันธุ์ข้าวฯ เนื่องจากกำนันธวัชชัย เป็นคนทำงานตัวจริง ตั้งใจจริง มีวิสัยทัศน์ ทำงานเพื่อลูกบ้าน เกษตรกรอย่างแท้จริง ที่สำคัญคือ กำนันธวัชชัย ยินดีที่จะทำนาทดลอง 1 ไร่ 300 ถังให้กับโครงการถุงยังชีพถาวรฯ ครับ .....อ่านต่อ
7 พฤษภาคม 2555 @ บันทึกภาพถ่ายวีดีโอชาวต่างประเทศกลุ่ม BangkokVanguards กำลังดำนา ที่ศูนย์การเรียนรู้พันธุ์ข้าวดักคะนน ต.ธรรมามูล จ.ชัยนาท : สวัสดีครับเพื่อนๆ ผมนำภาพวีดีโอที่พี่หนุ่มได้ถ่ายไว้ เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2555 ในโครงการ "ถุงยังชีพถาวรเพื่อการฟื้นฟูอาชีพผู้ประสบภัย" ซึ่งไปร่วมกับกิจกรรมด้านการท่องเที่ยว ในชื่อโครงการ "จักรยานสุขภาพดี ส่งเสริมวิถีเกษตรอินทรีย์ที่ชัยนาท" ที่เราไปร่วมกันฟื้นฟูอาชีพของเกษตรกรที่ประสบภัย ด้วยการนำการเกษตรอินทรีย์ไปหนุนการปลูกข้าวให้ได้ ข้าวเปลือก มากกว่า 100 ถังต่อไร่ และคาดหวังให้ได้ถึง 130 ถังต่อไร่ และสามารถที่จะประหยัดการใช้สารเคมี และปุ๋ยอินทรีย์มากกว่า 2.5 ล้านบาท .....อ่านต่อ
23 เมษายน 2555 @ ไปอบรมการเพิ่มผลผลิตข้าว และชี้แจงการเข้าร่วมโครงการถุงยังชีพถาวร เพื่อการฟื้นฟูอาชีพผู้ประสบภัย ที่เทศบาลหาดอาษา จ.ชัยนาท : สวัสดีครับเพื่อนๆ หลังจากช่วงเช้าที่ได้ไปเยี่ยมววัดเขาสารพัดดี สำรวจจุดติดตั้งเครื่อง Flood Warning System และบ่ายสองไปประชุมการเตรียมงาน "จักรยานสุขภาพ ส่งเสริมวิถีเกษตรอินทรีย์" ที่ศาลากลางจังหวัดชัยนาทมาแล้ว ก็มาถึงที่เทศบาลหาดอาษาเกือบ 5 โมงเย็น เกษตรกรรอพวกเราอยู่นานแล้ว เกรงใจมากๆ ก็ได้แต่ต้องรีบบรรยาย อธิบาย ถึงโครงการและความร่วมมือที่จะเกิดขึ้นครับ .....อ่านต่อ
23 เมษายน 2555 @ ไปร่วมประชุมการเตรียมการงาน "จักรยานสุขภาพดี ส่งเสริมวิถีเกษตรอินทรีย์" ที่ศาลากลางจังหวัดชัยนาท : สวัสดีครับเพื่อนๆ หลังจากได้ไปแวะทานข้าวกลางวันที่สถานีอนามัย ใกล้วัดเขาสารพัดดีแล้ว ก็รีบมาที่ศาลากลางจังหวัดชัยนาทเลยครับ เพราะว่ามีนัดประชุมหลายฝ่ายที่ห้องของพี่องอาจ หลำอุบล อยากบอกว่าแดดร้อนมากครับ ช่วงนี้เพื่อนๆ เลยอาจจะเห็นว่าผมใส่แต่เสื้อยืดสีขาว (ตราห่านคู่) อาจจะไม่เรียบร้อยสักหน่อย แต่ผมไม่มีเหงื่อต้องใส่ให้น้อยที่สุดครับ เดี๋ยวจะเป็นลมแดดครับ .....อ่านต่อ
19 เมษายน 2555 @ ร่วมประชุมกับเกษตรกรที่เป็นผู้ประสบภัยจากน้ำท่วม เพื่อให้เข้าร่วมโครงการ "จักรยานสุขภาพดี ส่งเสริมวิถีเกษตรอินทรีย์" ที่ตำบลหาดอาษา จ.ชัยนาท : สวัสดีครับเพื่อนๆ หลังจากออกจากพื้นที่ ต.ธรรมามูล ช้ากว่ากำหนด 1 ชั่วโมง และเราหลงทางกันขับวนไป เฉี่ยวมา หาทางมา ต.หาดอาษาไม่ถูก จึงทำให้มาถึงเกือบ 4 โมงเย็น ทำให้เกษตรกรที่รออยู่กลับกันไปบ้างแล้ว จึงเหลืออยู่ฟังบรรยายเรื่องเกษตรอินทรีย์เพียง 10 คน สแต่ำคัญที่มีระดับผู้นำชุมชนหลายคน ซึ่งก็รวมถึงคุณพิมพา ที่ทุกคนโหวตให้เป็นผู้ประสานงานโครงการ ที่จะคอยรวบรวมรายชื่อเกษตรกรที่จะเข้าร่วมโครงการถุงยังชีพถาวรฯ .....อ่านต่อ
19 เมษายน 2555 @ ไปชัยนาทร่วมประชุม และอบรมให้ความรู้เรื่องเกษตรอินทรีย์กับเกษตรกรที่ร่วมโครงการ "จักรยานสุขภาพดี ส่งเสริมวิถีเกษตรอินทรีย์" ที่ตำบลธรรมามูล : สวัสดีครับเพื่อนๆ วันนี้คิวยาวอีกแล้ว ต้องลงพื้นที่ 2 ตำบลนะครับ คือเช้านี้มาที่ ต.ธรรมามูล บ่ายไป ต.หาดอาษา และปิดท้ายด้วยการสำรวจรีสอร์ทที่จะพาทุกคนไปพักในคืนวันที่ 6 ก่อนจะเริ่มงานใหญ่ในวันที่ 7 พค.55 นี้นะครับ มาเริ่มกันที่แรก ทางรามาถึงสายไปประมาณ 1 ชั่วโมงทำให้รีบมาก ผมจึงลืมคิวนัดทาน้าวเช้าที่บ้านพี่ดวงพร เลยรีบตรงดิ่งมาที่ศูนย์การเรียนรู้พันธุ์ข้าวดักคะนนท์ ต.ธรรมามูล ที่พอเรามาถึงก็พบว่า ชาวบ้านมารอกันอยู่แล้ว .....อ่านต่อ
10 เมษายน 2555 @ พาคณะ BangkokVanguard และกลุ่มจักรยานผู้สูงอายุไม้ค้ำตะวัน ไปเยี่ยมชมสวนเกษตรอินทรีย์ของคุณทิพย์ พุฒเหมือน จ.ชัยนาท : สวัสดีครับเพื่อนๆ ตอนสุดท้ายสำหรับวันนี้แล้วครับ หลังงานแถลงข่าวของจังหวัดชัยนาท พอสำรวจเส้นทางจักรยานเสร็จ สุดท้ายเราก็มาปิดจ๊อบที่สวนเกษตรอินทรีย์ (ของแท้) ของคุณทิพย์ พุฒเหมือน ผู้เป็นเกษตรกรตัวอย่างตามทฤษฎีพอเพียง ของพระเจ้าอยู่หัว มาถึงปุ๊บ ผลไม้หวานๆ จากสวนก็มาเสริฟ์ปั๊บ มะม่วงหวานมาก ดูทุกคนจะสนุกสนาน ตื่นตาตื่นใจกับสวนเกษตรอินทรีย์ของคุณทิพย์มากครับ .....อ่านต่อ
10 เมษายน 2555 @ พาคณะ BangkokVanguard และกลุ่มจักรยานผู้สูงอายุไม้ค้ำตะวัน ไปสำรวจจุดติดตั้งเครื่อง Warning System และเส้นทางจักรยานที่จะจัดงานในวันที่ 7 พ.ค.2555 : สวัสดีครับเพื่อนๆ หลังจากช่วงเช้าที่พวกเราทุกคนได้ไปร่วมแถลงข่าวที่โรงแรมชัยนาทธานีแล้ว ก็เริ่มพาคุณไมเคิล คุณคริสติน และกลุ่มจักรยานผู้สูงอายุ "ไม้ค้ำตะวัน" ไปสำรวจเส้นทางจากวัดบรมธาตุฯ มุ่งหน้าผ่านเขื่อนเจ้าพระยา เข้าตัวเมืองแวะพักที่ศาลหลักเมืองชัยนาทจุดที่ 1 จากนั้นมุ่งหน้าต่อที่จุดพักที่ 2 คือ วัดธรรมมูล โดยให้กลุ่มนักขี่จักรยานวนขึ้นเขาบนวัดธรรมมูล แล้วไปวนรอบบึงเพื่อดูแนวปลูกป่า จบที่จุดหมมาย "ศูนย์การเรียนรู้พันธุ์ข้าวดักคะนนท์" .....อ่านต่อ
10 เมษายน 2555 @ ร่วมคณะ BangkokVanguards และกลุ่มจักรยานผู้สูงอายุไม้ค้ำตะวัน ไปร่วมงานแถลงข่าวที่จังหวัดชัยนาท : สวัสดีครับเพื่อนๆ วันนี้เป็นอีกวันที่ต้องไปชัยนาทนะครับ และผมคงต้องไปชัยนาทบ่อยๆ นะครับ อีกไม่นานก็คงเป็นคนชัยนาทไปโดยปริยาย วันนี้เป็นอีกวันสำคัญที่ผมต้องพาคุณไมเคิล คุณคริสติน กลุ่มอาสาชาวต่างประเทศ และกลุ่มไม้ค้ำตะวัน ที่เป็นผู้สูงอายุขี่จักรยาน (แบบว่าขี่ไปถึงต่างประเทศด้วยนะครับ) ไปร่วมงานแถลงข่าวที่โรงแรมชัยนาทธานี ซึ่งจัดโดยสาธารณสุขจังหวัดชัยนาท ถือเป็นงานระดับจังหวัดครับ .....อ่านต่อ
6 เมษายน 2555 @ ไปชัยนาทเพื่อร่วมประชุมกับกำนัน ต.ธรรมมูล ในการเตรียมงาน "จักรยานสุขภาพดี ส่งเสริมวิถีเกษตรอินทรีย์" : สวัสดีครับเพื่อนๆ ช่วงบ่ายนี้หลังจากเสร็จการประชุมกับเกษตรกรหมู่ 7 บ้านอ้อย ต.สรรพยาอ.สรรพยา แล้วก็มาที่ ศูนย์การเรียนรู้พันธุ์ข้าวดักคะนนท์ ต.ธรรมมูล ของกำนันธวัชชัย เพื่อร่วมกันหาข้อสรุปกำนดวันทำกิจกรรมใหญ่ ตามโครงการถุงยังชีพถาวรเพื่อการฟื้นฟูอาชีพผู้ประสบภัย ที่มีกลุ่มชาวต่างชาติ BangkokVanguards ได้ร่วมบริจาคเงิน ร่วมกิจกรรมขี่จักรยาน + ดำนา และเน้นนำเงินมาซื้อปุ๋ยอินทรีย์น้ำ สำหรับพื้นที่ 1,300 ไร่ .....อ่านต่อ
6 เมษายน 2555 @ ร่วมประชุมกับเกษตรกรในประเด็นการจัดตั้งกลุ่ม หสม. และการดูแลผู้สูงอายุ คนพิการ ทั้งในภาวะปกติ และภาวะอุทกภัย ตอนที่ 2/2 : การจัดตั้ง หสม. และเทคนิคการเพิ่มผลผลิตข้าว : สวัสดีครับเพื่อนๆ ต่อเนื่องจากในช่วงต้นที่ผมกับพี่หนุ่มได้มีโอกาสมาอธิบายเกี่ยวกับเรื่องการจัดตั้ง หสม. และการใช้ปุ๋ยน้ำอินทรีย์ ที่มีเกษตรกรผู้ประสบภัยจำนวนหนึ่งได้ทดลองใช้แล้วได้ผลผลิตดี ไร่ละ 100-110 ถัง และผมก็ลองพิจารณาดูเห็นว่ามีปัจจัยเสริมอยู่ 4 ข้อที่น่าจะทำให้เกษตรกร สามารถเพิ่มผลผลิตข้าวได้ แต่ก็แอบคิดๆ นะครับว่า .....อ่านต่อ
14 มีนาคม 2555 @ ไปร่วมประชุมนำเสนอการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรรูปแบบเชิงพาณิชย์ เพื่อดูแลพื้นที่ของตัวเอง ในจังหวัดชัยนาท ตอนที่ 2/2 : สวัสดีครับเพื่อนๆ บทความนี้ต่อเนื่องจากช่วงบ่ายที่เราได้ไปประชุมร่วมกับกำนันธวัชชัยที่ดูแลพื้นที่ตำบลธรรมมูล แต่พอพี่หนุ่มได้ติดต่อกับคุณอ๊อด ซึ่งเป็นเกษตรกรที่ได้ทดลองใช้เกษตรอินทรีย์ที่เราได้แนะนำแล้วได้ผลผลิตนาข้าว (หว่าน) ไร่ละ 1 เกวียน + 10 ถัง หรือ 1.1 เกวียน คุณอ๊อดทดลลองไป 6 ไร่ได้ไป 6 เกวียนกับอีก 60 ถัง ซึ่งเพื่อนเกษตรกรที่เป็นผู้ประสบภัยอีกเกือบ 20 ราย ก็ได้รับผลผลิตในระดับไร่ละ 1 หรือมากกว่า 1 เกวียนเช่นกัน .....อ่านต่อ
14 มีนาคม 2555 @ ไปร่วมประชุมนำเสนอการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรรูปแบบเชิงพาณิชย์ เพื่อดูแลพื้นที่ของตัวเอง ในจังหวัดชัยนาท ตอนที่ 1/2 : สวัสดีครับเพื่อนๆ วันนี้เป็นวันที่ลุยๆ อีกวันหนึ่งเหมือนกันครับ สำหรับการลงพื้นที่จังหวัดชัยนาท เช่นเคยครับเราไปเริ่มต้นที่บ้านพี่ดวงพร อิฐรัตน์ เรามากัน 3 คนนะครับ คือพี่หนุ่ม ผม และโกวเล็ก เพราะว่าวันนี้เราจะไป 2 พื้นที่ คือ บ้านอ้อย สรรพยา และธรรมมูล ปรากฏว่ากำนันของชัยนาท มีไปประชุมที่อยุธยากันหมด ช่วงเช้าพี่หนุ่มกับโกวเล็ก จึงเปลี่ยนแผนเป็นพูดคุยกับชาวนาใกล้ๆ บริเวณอำเภอเมือง ส่วนผมไปแนะนำการใช้งานเครื่องพิมพ์ (พ่วงสแกนและถ่ายเอกสาร ไปในตัวครับ) ให้กับพี่ดวงพรครับ .....อ่านต่อ
27 กุมภาพันธ์ 2555 @ ร่วมกับทางภาคประชาชนจังหวัดชัยนาท พาชาวต่างชาติกลุ่ม BangkokVANGuards สำรวจพื้นที่ในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยในจังหวัดชัยนาท ตอนที่ 1/2 : สวัสดีครับเพื่อนๆ วันนี้เป็นวันที่ผมฝันใฝ่มากๆ ครับ เพราะว่าเป็นวันที่จะได้พาชาวต่างชาติกลุ่ม BangkokVANGuards ไปสำรวจในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยเรื่องการฟื้นฟูอาชีพครับ คือถือว่าใฝ่ฝัน หมายถึงอยากมีฝรั่งนั่งใกล้ๆ นะครับ แล้วแบบว่าก็คุยภาษาอังกฤษกับเขาครับ ก็พูดไม่เก่ง เออ..เออ...อา...อา... อยู่นั่นละครับ แต่ก็อยากพูดกับเขานะครับ เห็นเขาพยายามตั้งใจฟังแล้วก็พอมีกำลังใจมั่วๆ ไปก่อนครับ .....อ่านต่อ
21 กุมภาพันธ์ 2555 @ ไปคุยกับชาวต่างประเทศที่มีความสนใจในการทำกิจกรรมฟื้นฟูอาชีพผู้ประสบภัย ที่ Central World : สวัสดีครับเพื่อนๆ วันนี้ตื่นเต้นมากๆ นะครับ จะต้องไปคุยกับฝรั่ง คุณไมเคิลกับคุณคริสติน ซึ่งเป็นกลุ่มชาวต่างชาติที่ระดมเงินบริจาคด้วยการเช็ดกระจกเพื่อช่วยน้ำท่วม (ดูได้ที่ลิงก์นี้นะครับ http://vimeo.com/31590571) โดยมีคุณมล เป็นล่ามให้นะครับ อันที่จริงคุณมล นี่ละครับที่แนะนำผมให้ได้รู้จักกับคุณไมเคิลและคุณคริสติน และที่เรารู้จักกันก็เพราะว่า คุณมล และคุณชยุตม์ (น้องชายคุณมล) เป็นอาสาสมัครที่เข้ามาใช้ข้อมูลใน Thaiflood.com แล้วได้ปรึกษาร่วมกันในการเข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัย .....อ่านต่อ
ความเป็นมาโครงการ :
หลังจากที่ผมได้มีโอกาสเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยทำงานผ่านระบบของ Thaiflood.com ทำให้คนพิการรุนแรงทุพพลภาพอย่างผมสามารถช่วยเหลือผู้อื่นที่กำลังเดือนดร้อนได้ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2553 และได้จัดตั้งกลุ่ม "อาสาสมัครคนพิการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ" ซึ่งทีมงานเป็นคนพิการทั้งหมด โดยทำงานผ่านระบบอินเตอร์เน็ตทั่วประเทศ
ระหว่างการทำงานอาสา ในขณะที่ตัวผมเองก็เป็นผู้ประสบภัยน้ำท่วมอยู่ที่ อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี ในปี พ.ศ.2554 ซึ่งเป็นมหาอุทกภัยของประเทศไทย ได้รับชมข่าวสะเทือนใจที่มีผู้ประสบภัยจมน้ำเสียชีวิตและในมือยังกำถุงยังชีพอยู่ ทำให้สะเทือนใจอย่างมาก และตั้งปณิธานว่า จะพยายามทำโครงการที่ทำให้ผู้ประสบภัย สามารถฟื้นฟูอาชีพตัวเองได้ จนมีกำลังทรัพย์ มีแนวคิด ที่จะดูแลตัวเอง ดูแลครอบครัว มีการเตรียมการ หากทราบว่าตัวเองต้องกลายเป็นผู้ประสบภัย จนไม่จำเป็นต้องพึ่งถุงยังชีพจากที่ใด ยกเว้นถุงยังชีพพระราชทาน เพื่อไว้เป็นกำลังใจจากพระบรมราชวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ จึงได้ก่อตั้งโครงการถุงยังชีพถาวรเพื่อการฟื้นฟูอาชีพผู้ประสบภัย ขึ้นมา
และได้เริ่มโครงการแรก คือ การฟื้นฟูอาชีพการทำนาข้าวตามวิถีเกษตรอินทรีย์ จนประสบความสำเร็จในขั้นต้น เกษตรกรในโครงการสามารถมีผลผลิตถึงมากกว่า 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ และยังทำการพัฒนาผลผลิตอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน โดยความสำเร็จอย่างรวดเร็วในโครงการแรกนี้เกิดจาก กลุ่มเกษตรอาสา ได้ลงพื้นที่ใน อ.สรรพยา จ.ชัยนาท จนเกษตรกรเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับวิถีเกษตรอินทรีย์ ซึ่งมีประโยชน์มหาศาล ใกล้ตัวที่สุดคือ สุขภาพดีขึ้น เพราะไม่ต้องใช้สารเคมี ห่างมาหน่อยก็สบายกระเป๋า ที่ไม่ต้องจ่ายค่าปุ๋ยเคมี และยาปราบศัตรูพืชชนิดต่างๆ ผลที่ตามมาคือ ผลผลิตที่มากขึ้น ดีขึ้น ไม่สารพิษตกค้าง
ระหว่างการทำงานอาสา ในขณะที่ตัวผมเองก็เป็นผู้ประสบภัยน้ำท่วมอยู่ที่ อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี ในปี พ.ศ.2554 ซึ่งเป็นมหาอุทกภัยของประเทศไทย ได้รับชมข่าวสะเทือนใจที่มีผู้ประสบภัยจมน้ำเสียชีวิตและในมือยังกำถุงยังชีพอยู่ ทำให้สะเทือนใจอย่างมาก และตั้งปณิธานว่า จะพยายามทำโครงการที่ทำให้ผู้ประสบภัย สามารถฟื้นฟูอาชีพตัวเองได้ จนมีกำลังทรัพย์ มีแนวคิด ที่จะดูแลตัวเอง ดูแลครอบครัว มีการเตรียมการ หากทราบว่าตัวเองต้องกลายเป็นผู้ประสบภัย จนไม่จำเป็นต้องพึ่งถุงยังชีพจากที่ใด ยกเว้นถุงยังชีพพระราชทาน เพื่อไว้เป็นกำลังใจจากพระบรมราชวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ จึงได้ก่อตั้งโครงการถุงยังชีพถาวรเพื่อการฟื้นฟูอาชีพผู้ประสบภัย ขึ้นมา
ต่อมาเราอยากนำเสนอความคิดนี้อย่างกว้างขวาง เพื่อให้เกษตรกรซึ่งเป็นผู้ประสบภัยด้วย สามารถพ้นภาระหนี้สินได้ ลำพังเพียงเงินบริจาคที่ตัวผมกับเหล่าอาสาไปตั้งโต๊ะรับบริจาค (สามารถดูลิงก์กิจกรรมการรับริจาคที่ลิงก์นี้ครับ) คงจะไม่สามารถดำเนินการได้อย่างกว้างขวาง จนผมได้มีโอกาสพูดคุย ปรึกษา ประชุม กับกลุ่มอาสาสมัครชาวต่างประเทศBangkokVanguards เราจึงสามารถเริ่มโครงการนี้ได้ครอบคลุมพื้นที่ถึง 3 ตำบล ใน 2 อำเภอของจังหวัดชัยนาท ดังนี้
- ต.ธรรมามูล อ.เมือง จ.ชัยนาท
- ต.หาดอาษา อ.สรรพยา จ.ชัยนาท
- ต.สรรพยา อ.สรรพยา จ.ชัยนาท
(ภาพชาวต่างประเทศกลุ่ม BangkokVanguards กำลังดำนา)
นโยบายของโครงการส่งเสริมการปลูกข้าววิถีเกษตรอินทรีย์ :
เราจะส่งเสริมให้เกษตรซึ่งเป็นผู้ประสบภัย และมีวิถึชีวิตในการปลูกข้าว ได้หันกลับมาใช้วิถีเกษตรอินทรีย์ในการปลูกข้าว เพื่อให้เกษตรกรมีสุขภาพที่ดีขึ้นเนื่องจากไม่ต้องใช้สารเคมี ลดต้นทุน และเป็นการเพิ่มผลผลิต ทำให้สามารถลดภาระหนี้ และมีรายได้ในการเตรียมตัว เตรียมความพร้อม หากมีภัยพิบัติอีกครั้ง เมื่อผู้ประสบภัยที่ร่วมโครงการได้เก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ก็จะนำเงินต้นทุนคืนกลับยังมูลนิธิ OpenCARE เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยอื่นต่อไป และเรายังคงติดตามว่า ผู้ประสบภัยยังคงดำเนินวิถีเกษตรอินทรีย์ต่อไปหรือไม่ ด้วยการจัดตั้งกลุ่มระดับตำบล ให้เป็นกลุ่มเชิงพาณิชย์ที่มีเงินกองทุนระดับตำบล เพื่อคอยดูแล ส่งเสริมทุกๆ คนต่อไป (ประเด็นการจัดตั้งกลุ่มนั้น หากสำเร็จมีการทำงานเป็นรูปองค์กรเรียบร้อย จะนำมาแบ่งปันต่อไปครับ)
การดำเนินการ :
ขั้นตอนการพิจารณา และดำเนินการ สำหรับเกษตรกร คือ
- ตรวจสอบเกษตรกร ว่าเป็นผู้ประสบภัย จากเอกสารทางราชการว่าได้รับการชดเชยจากภาครัฐ หรือกรณีเพิ่มเติม โดยได้รับการืยนยันจากผู้นำท้องถิ่น
- เกษตรกร ซึ่งเป็นผู้ประสบภัย ต้องได้รับการอบรมการใช้เกษตรอินทรีย์ กับการปลูกข้าว โดยนักวิชาการในโครงการ
- เกษตรกรนำสารอาหารพืชไปใช้งาน โดยมิได้รับการสนับสนุนเป็นเงินสด โดยมอบหมายร่วมมือก กับผู้นำชุมชนในพื้นที่
- ติดตามหลังเก็บเกี่ยวเพื่อการรวบรวมข้อมูลสุดท้าย
- รวบรวมต้นทุนที่ได้ให้การสนับสนุน เพื่อนำส่งคืนกลับยังบัญชีของ OpenCARE ต่อไป
ขั้นตอนการพิจารณา และดำเนินการ สำหรับฝ่ายบริหารโครงการ คือ
- ตรวจสอบหาพื้นที่น้ำท่วม และสำรวจความต้องการของผู้ประสบภัยว่าต้องการความช่วยเหลือในส่วนไหน ซึ่งสำหรับโครงการนี้ เป็นความต้องการของการเพิ่มผลผลิตข้าวเปลือก และต้องการปลดภาระหนี้สิน
- จัดฝึกอบรมให้กับเกษตรกร ถึงการใช้วิธีเกษตรอินทรีย์ และแนะนำอธิบายการใช้สารอาหารพืช ในโครงการ
- มีการติดตามผลการใช้งานวิธีเกษตรอินทรีย์ เพื่อมาวิเคราะห์ผล และหาทางปรับปรุงแก้ไขโครงการ และหาข้อสรุปของการดำเนินงานต่อไป
- ประสานงานร่วมมือกับภาคีเครือข่ายอื่นๆ เพิ่มเติมต่อไป ในระหว่างดำเนินการ
- ติดตามต้นทุนคืน บัญชีของ OpenCARE
- หลังเก็บเกี่ยวจะมีการประชุมหารือ เพื่อขอรับการสนับสนุนจากเกษตรกรที่ร่วมโครงการ ในการขอรับบริจาคข้าวเปลือกไร่ละ 1 ถัง เพื่อรวบรวมไปจัดตั้งเป็น กองทุนข้าวสำหรับบริจาคให้เด็กติดเชื้อเอดส์ หรือผู้ด้อยโอกาสที่ขัดสน ขาดแคลน โดยโครงการดังกล่าวนี้ เรากำลังอยู่ในระหว่างเตรียมการอยู่
- เตรียมงานสำหรับโครงการต่อไปอีก 5,000 ไร่
- อยู่ในระหว่างจัดทำเว็บไซต์ การจำหน่าย "ข้าวปลอดสารเคมี ปันสุข" ของเกษตรกรในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมของจังหวัดชัยนาท เพื่อนำเงินไปจัดซื้อเครื่องสีข้าวชุมชน โดยเราคาดหวังให้เกษตรกรสามารถพึ่งตนเองในด้านการตลาดที่ส่งสินค้าผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพถึงมือผู้ให้การสนับสนุน และผู้บริจาคโดยตรง
ภาพรวมของโครงการ :
ขณะนี้เรากำลังเดินหน้าในการให้ความรู้กับเกษตรกรก่อนเป็นสำคัญ โดยการร่วมมือกับศูนย์การเรียนรู้พันธุ์ข้าวบ้านดักคะนน ซึ่งเป็นจุดประชาสัมพันธ์โครงการอย่างดี และกำลังจะทำการทดลองการปลูกข้าว 1 ไร่มากกว่า 100 ถัง ถึง 300 ถัง และทำการทดลองนำสารอาหารพืชอินทรีย์ในตลาดทั้งหมด มาทดลองปลูกข้าวเพื่อเป็นตัวอย่างให้เกษตรกรได้ทราบข้อมูลเพื่อการตัดสินใจต่อไป โดยมีพื้นที่เป้าหมายในครั้งต่อไป 5,000 ไร่
หากท่านใดมีความสนใจในการเข้าร่วมโครงการในระยะที่ 1 คือ การปลูกพันธุ์ไผ่ ในวันที่ 14-15 กรกฎาคม พ.ศ.2555 สามารถติดต่อ คุณปรีดา ลิ้มนนทกุล 086-314-7866 และหากประสงค์จะสนับสนุนโครงงการสามารถบริจาคได้ตามรายละเอียดดังนี้
"โอนเงินเข้า บัญชี "มูลนิธิโอเพ่นแคร์เพื่องานอาสาฟื้นฟูผู้ประสบภัยพิบัติ" SCB ธนาคารไทยพาณิชย์ เลขที่ 402-177853-3 และรบกวนแจ้งการโอนงินที่แบบฟอร์มนี้http://selfreliefpackage.blogspot.com/2011/10/6.html แล้วติดต่อเพื่อแจ้งการโอนเงินแล้วที่ คุณปรีดา ลิ้มนนทกุล 086-314-7866 โดยแจ้งรายละเอียดการโอนทาง sms หรือส่งมาที่อีเมล์ preeda.limnontakul@gmail.com"
ขอบคุณครับ
28 มิถุนายน 2555 @ ไปเยี่ยมเกษตรกร (พิการและเป็นผู้ประสบภัย) แบบด่วนๆ พื้นที่ ต.ธรรมามูล จ.ชัยนาท : สวัสดีครับเพื่อนๆ วันนี้มีงานด่วน งานเร่งเล็กน้อย ที่ต้องรีบเร่งไปที่จังหวัดชัยนาท แทนพี่หนุ่ม เพราะว่ามีเกษตรกรที่เป็นทั้งคนพิการ และผู้ประสบภัยมีความต้องการปุ๋ยอินทรีย์ด่วน ผมจึงตัดสินใจเป็นธุระให้ เนื่องจากเขาได้จ้างคนหว่านปุ๋ยมาแล้ว แต่เกิดความผิดพลาดในการนัดหมาย พี่หนุ่มจึงนำมาฝากผม และผมก็รีบออกจากบ้านแต่เช้า โดยเราไปแวะที่ศูนย์การเรียนรู้พันธุ์ข้าวบ้านดักคะนน เพื่อไปรับเอกสารส่งมอบสินค้า และถ่ายภาพแปลงนาทดลองมาฝากด้วยครับ .....อ่านต่อ
11 มิถุนายน 2555 @ ไปร่วมประชุมกับทางคูโบต้า ในการร่วมกันทำงานวิจัยการเพิ่มผลผลิตข้าวเปลือก ที่ศูนย์การเรียนรู้พันธุ์ข้าวชุมชนดักคะนน จ.ชัยนาท : สวัสดีครับเพื่อนๆ บทความครั้งนี้ เป็นอีกวันที่ผมได้ประสานงานกับทาง คูโบต้า ที่ผลิตเครื่องดำนา และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร ผมได้เบอร์คุณต่อมาจากโฆษณาเครื่องดำนาในยุคแรกของคูโบต้า เมื่อปี 2547 จากหนังสือพิมพ์ที่ผมตัดเก็บไว้ เพราะเวลาผมอ่านหนังสือพิมพ์แล้วถ้ามีอะไรเช่น ข่าว บทความ โฆษณา ผมจะตัดเก็บเอาไว้ คือเก็บไว้ก่อน ยังไม่ใช้ไม่เป็นไร จึงทำให้เป็นจุดหนุ่งที่ทำให้ผมสามารถต่ิดต่อกับคุณต่อ ของคูโบต้า ได้ในแบบที่รู้สึกสนิทได้เร็วขึ้นครับ .....อ่านต่อ
10 มิถุนายน 2555 @ พี่ปรเมศวร์ มินศิริ มาเยี่ยมที่บ้านและคุยงานเรื่องการรับมือภัยพิบัติในส่วนที่ผมสามารถรับผิดชอบได้ครับ : สวัสดีครับเพื่อนๆ หลังจากที่ผมได้ไปประชุมกับกำนันธวัชชัยที่ศูนย์การเรียนรู้พันธุ์ข้าวบ้านดักคะนน เรื่องการทำการตลาดข้าวให้กับเกษตรกรผู้ประสบภัย ที่จังหวัดชัยนาท ก็ได้รับข้าวสารมาจากกำนันธวัชชัย เพื่อนำมาถ่ายภาพสำหรับใช้ในการประชาสัมพันธ์โครงการดังกล่าว โดยผมต้องนำเรื่องนี้เข้าคุย ปรึกษากับพี่ปรเมศวร์ มินศิริ ต่อไปเพื่อการวางแผนงาน จึงทำให้ต้องนัดหมายพี่ปรเมศวร์ และพี่ปรเมศวร์ วันนี้จะมาคุยเรื่องนี้กับผมที่บ้านครับ .....อ่านต่อ
9 มิถุนายน 2555 @ ไปประชุมการเตรียมงานปลูกสวนไผ่ และการเตรียมงานการจำหน่ายข้าวปลอดสารพิษที่ทางศูนย์การเรียนรู้พันธุ์ข้าวฯ สีข้าวเอง ที่จังหวัดชัยนาท : สวัสดีครับเพื่อนๆ หลังจากที่ได้ไปเยี่ยมชมฟาร์มโคนมไทย-เดนมาร์ค ที่สระบุรีแล้ว ก็รีบมาหากำนันธวัชชัย ที่ศูนย์การเรียนรู้พันธุ์ข้าวชุมชนดักคะนน ที่ ต.ธรรมามูล จ.ชัยนาท เพราะว่าจะมาประชุมกันเรื่องปลูกสวนไผ่ เพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้เกี่ยวกับไผ่ ในการฟื้นฟูและเสริมสร้างอาชีพในพื้นที่ประสบภัย โดยพื้นที่ที่ใช้ในโครงการนั้นติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา มีความเสี่ยงน้ำท่วม และเป็นพื้นที่น้ำท่วมเมื่อครั้งน้ำท่วมใหญ่ 2554 ที่ผ่านมา .....อ่านต่อ
6 มิถุนายน 2555 @ นัดปรึกษางานโครงการปลูกสวนไผ่ และงานโครงการเข้าค่ายภาษาอังกฤษให้กับ 3 มหาวิทยาลัย ที่ ร้าน KFC ใน BIG C สะพานควาย : สวัสดีครับเพื่อนๆ หลังจากผมได้ไปร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการของกระทรวงไอซีทีแล้ว ผมก็มาตามนัดหมายพบกับคุณไมเคิล ที่ Big C สะพานควาย คุณไมเคิลนั่งรถไฟฟ้ามา ส่วนผมก็นั่ง TAXI ไปเจอกัน เรามีนัดกันคุยเรื่องความคืบหน้าของโครงการปลูกสวนไผ่ และโครงการการพัฒนาภาษาอังกฤษให้กับนักศึกษาปริญญาตรี โดยเราจะแบ่งงานกันเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนการฝึกทักษะการฟัง ซึ่งผมจะดูแล ส่วนการเข้าค่ายร่วมกับชาวต่างชาติ ผมเสนอให้คุณไมเคิลดูแล .....อ่านต่อ
1 มิถุนายน 2555 @ ไปเยี่ยมเกษตรกรซึ่งเป็นผู้ประสบภัยน้ำท่วม ในโครงการถุงยังชีพถาวรฯ พื้นที่ ต.สรรพยา ต.ธรรมามูล จ.ชัยนาท : สวัสดีครับเพื่อนๆ สำหรับวันนี้ผมกับพี่หนุ่มมาหลายงาน หลายส่วนนะครับ จึงขอแยกเป็นแต่ละบทความ โดยบทความนี้ ผมขอเน้นไปในส่วนของการเยี่ยมเกษตรกรที่ใช้วิธีเกษตรอินทรีย์ ภายใต้โครงการถุงยังชีพถาวร เพื่อการฟื้นฟูอาชีพผู้ประสบภัย ซึ่งเราทำหลายพื้นที่ ในช่วงเช้านี้เราไปเยี่ยมคุณจำนงค์ ที่ทำนาถึง 109 ไร่ก่อน แต่ไม่อยู่นะครับ จึงแวะไปถ่ายภาพมาให้เพื่อนๆ ดูก่อน เป็นบการดำนาที่ระยะห่างประมาณ 15-20 เซนติเมตร (ตามภาพข้างล่าง) ครับ .....อ่านต่อ
26 พฤษภาคม 2555 @ ไปสอนการใช้เครื่อง PZent ให้กับทางศูนย์การเรียนรู้พันธุ์ข้าวดักคะนน ต.ธรรมามูล จ.ชัยนาท เพื่อใช้งานในวันรับเสด็จสมเด็จพระเทพรัตนราชสุด สยามบรมราชกุมารีฯ : สวัสดีครับเพื่อนๆ วันนี้ผมพาเพื่อนๆ ไปที่ศูนย์การเรียนรู้พันธุ์ข้าวชุมชนดักคะนน ต.ธรรมามูล จ.ชัยนาท อีกครั้งนะครับ ไม่ต้อง งงนะครับ เพราะว่าผมกับพี่ๆ อีกหลายท่านที่กำลังทำงานในพื้นที่จังหวัดชัยนาท ต้องมาช่วย มาร่วม มาส่งเสริมที่ศูนย์การเรียนรู้พันธุ์ข้าวฯ เนื่องจากกำนันธวัชชัย เป็นคนทำงานตัวจริง ตั้งใจจริง มีวิสัยทัศน์ ทำงานเพื่อลูกบ้าน เกษตรกรอย่างแท้จริง ที่สำคัญคือ กำนันธวัชชัย ยินดีที่จะทำนาทดลอง 1 ไร่ 300 ถังให้กับโครงการถุงยังชีพถาวรฯ ครับ .....อ่านต่อ
7 พฤษภาคม 2555 @ บันทึกภาพถ่ายวีดีโอชาวต่างประเทศกลุ่ม BangkokVanguards กำลังดำนา ที่ศูนย์การเรียนรู้พันธุ์ข้าวดักคะนน ต.ธรรมามูล จ.ชัยนาท : สวัสดีครับเพื่อนๆ ผมนำภาพวีดีโอที่พี่หนุ่มได้ถ่ายไว้ เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2555 ในโครงการ "ถุงยังชีพถาวรเพื่อการฟื้นฟูอาชีพผู้ประสบภัย" ซึ่งไปร่วมกับกิจกรรมด้านการท่องเที่ยว ในชื่อโครงการ "จักรยานสุขภาพดี ส่งเสริมวิถีเกษตรอินทรีย์ที่ชัยนาท" ที่เราไปร่วมกันฟื้นฟูอาชีพของเกษตรกรที่ประสบภัย ด้วยการนำการเกษตรอินทรีย์ไปหนุนการปลูกข้าวให้ได้ ข้าวเปลือก มากกว่า 100 ถังต่อไร่ และคาดหวังให้ได้ถึง 130 ถังต่อไร่ และสามารถที่จะประหยัดการใช้สารเคมี และปุ๋ยอินทรีย์มากกว่า 2.5 ล้านบาท .....อ่านต่อ
23 เมษายน 2555 @ ไปอบรมการเพิ่มผลผลิตข้าว และชี้แจงการเข้าร่วมโครงการถุงยังชีพถาวร เพื่อการฟื้นฟูอาชีพผู้ประสบภัย ที่เทศบาลหาดอาษา จ.ชัยนาท : สวัสดีครับเพื่อนๆ หลังจากช่วงเช้าที่ได้ไปเยี่ยมววัดเขาสารพัดดี สำรวจจุดติดตั้งเครื่อง Flood Warning System และบ่ายสองไปประชุมการเตรียมงาน "จักรยานสุขภาพ ส่งเสริมวิถีเกษตรอินทรีย์" ที่ศาลากลางจังหวัดชัยนาทมาแล้ว ก็มาถึงที่เทศบาลหาดอาษาเกือบ 5 โมงเย็น เกษตรกรรอพวกเราอยู่นานแล้ว เกรงใจมากๆ ก็ได้แต่ต้องรีบบรรยาย อธิบาย ถึงโครงการและความร่วมมือที่จะเกิดขึ้นครับ .....อ่านต่อ
23 เมษายน 2555 @ ไปร่วมประชุมการเตรียมการงาน "จักรยานสุขภาพดี ส่งเสริมวิถีเกษตรอินทรีย์" ที่ศาลากลางจังหวัดชัยนาท : สวัสดีครับเพื่อนๆ หลังจากได้ไปแวะทานข้าวกลางวันที่สถานีอนามัย ใกล้วัดเขาสารพัดดีแล้ว ก็รีบมาที่ศาลากลางจังหวัดชัยนาทเลยครับ เพราะว่ามีนัดประชุมหลายฝ่ายที่ห้องของพี่องอาจ หลำอุบล อยากบอกว่าแดดร้อนมากครับ ช่วงนี้เพื่อนๆ เลยอาจจะเห็นว่าผมใส่แต่เสื้อยืดสีขาว (ตราห่านคู่) อาจจะไม่เรียบร้อยสักหน่อย แต่ผมไม่มีเหงื่อต้องใส่ให้น้อยที่สุดครับ เดี๋ยวจะเป็นลมแดดครับ .....อ่านต่อ
19 เมษายน 2555 @ ร่วมประชุมกับเกษตรกรที่เป็นผู้ประสบภัยจากน้ำท่วม เพื่อให้เข้าร่วมโครงการ "จักรยานสุขภาพดี ส่งเสริมวิถีเกษตรอินทรีย์" ที่ตำบลหาดอาษา จ.ชัยนาท : สวัสดีครับเพื่อนๆ หลังจากออกจากพื้นที่ ต.ธรรมามูล ช้ากว่ากำหนด 1 ชั่วโมง และเราหลงทางกันขับวนไป เฉี่ยวมา หาทางมา ต.หาดอาษาไม่ถูก จึงทำให้มาถึงเกือบ 4 โมงเย็น ทำให้เกษตรกรที่รออยู่กลับกันไปบ้างแล้ว จึงเหลืออยู่ฟังบรรยายเรื่องเกษตรอินทรีย์เพียง 10 คน สแต่ำคัญที่มีระดับผู้นำชุมชนหลายคน ซึ่งก็รวมถึงคุณพิมพา ที่ทุกคนโหวตให้เป็นผู้ประสานงานโครงการ ที่จะคอยรวบรวมรายชื่อเกษตรกรที่จะเข้าร่วมโครงการถุงยังชีพถาวรฯ .....อ่านต่อ
19 เมษายน 2555 @ ไปชัยนาทร่วมประชุม และอบรมให้ความรู้เรื่องเกษตรอินทรีย์กับเกษตรกรที่ร่วมโครงการ "จักรยานสุขภาพดี ส่งเสริมวิถีเกษตรอินทรีย์" ที่ตำบลธรรมามูล : สวัสดีครับเพื่อนๆ วันนี้คิวยาวอีกแล้ว ต้องลงพื้นที่ 2 ตำบลนะครับ คือเช้านี้มาที่ ต.ธรรมามูล บ่ายไป ต.หาดอาษา และปิดท้ายด้วยการสำรวจรีสอร์ทที่จะพาทุกคนไปพักในคืนวันที่ 6 ก่อนจะเริ่มงานใหญ่ในวันที่ 7 พค.55 นี้นะครับ มาเริ่มกันที่แรก ทางรามาถึงสายไปประมาณ 1 ชั่วโมงทำให้รีบมาก ผมจึงลืมคิวนัดทาน้าวเช้าที่บ้านพี่ดวงพร เลยรีบตรงดิ่งมาที่ศูนย์การเรียนรู้พันธุ์ข้าวดักคะนนท์ ต.ธรรมามูล ที่พอเรามาถึงก็พบว่า ชาวบ้านมารอกันอยู่แล้ว .....อ่านต่อ
10 เมษายน 2555 @ พาคณะ BangkokVanguard และกลุ่มจักรยานผู้สูงอายุไม้ค้ำตะวัน ไปเยี่ยมชมสวนเกษตรอินทรีย์ของคุณทิพย์ พุฒเหมือน จ.ชัยนาท : สวัสดีครับเพื่อนๆ ตอนสุดท้ายสำหรับวันนี้แล้วครับ หลังงานแถลงข่าวของจังหวัดชัยนาท พอสำรวจเส้นทางจักรยานเสร็จ สุดท้ายเราก็มาปิดจ๊อบที่สวนเกษตรอินทรีย์ (ของแท้) ของคุณทิพย์ พุฒเหมือน ผู้เป็นเกษตรกรตัวอย่างตามทฤษฎีพอเพียง ของพระเจ้าอยู่หัว มาถึงปุ๊บ ผลไม้หวานๆ จากสวนก็มาเสริฟ์ปั๊บ มะม่วงหวานมาก ดูทุกคนจะสนุกสนาน ตื่นตาตื่นใจกับสวนเกษตรอินทรีย์ของคุณทิพย์มากครับ .....อ่านต่อ
10 เมษายน 2555 @ พาคณะ BangkokVanguard และกลุ่มจักรยานผู้สูงอายุไม้ค้ำตะวัน ไปสำรวจจุดติดตั้งเครื่อง Warning System และเส้นทางจักรยานที่จะจัดงานในวันที่ 7 พ.ค.2555 : สวัสดีครับเพื่อนๆ หลังจากช่วงเช้าที่พวกเราทุกคนได้ไปร่วมแถลงข่าวที่โรงแรมชัยนาทธานีแล้ว ก็เริ่มพาคุณไมเคิล คุณคริสติน และกลุ่มจักรยานผู้สูงอายุ "ไม้ค้ำตะวัน" ไปสำรวจเส้นทางจากวัดบรมธาตุฯ มุ่งหน้าผ่านเขื่อนเจ้าพระยา เข้าตัวเมืองแวะพักที่ศาลหลักเมืองชัยนาทจุดที่ 1 จากนั้นมุ่งหน้าต่อที่จุดพักที่ 2 คือ วัดธรรมมูล โดยให้กลุ่มนักขี่จักรยานวนขึ้นเขาบนวัดธรรมมูล แล้วไปวนรอบบึงเพื่อดูแนวปลูกป่า จบที่จุดหมมาย "ศูนย์การเรียนรู้พันธุ์ข้าวดักคะนนท์" .....อ่านต่อ
10 เมษายน 2555 @ ร่วมคณะ BangkokVanguards และกลุ่มจักรยานผู้สูงอายุไม้ค้ำตะวัน ไปร่วมงานแถลงข่าวที่จังหวัดชัยนาท : สวัสดีครับเพื่อนๆ วันนี้เป็นอีกวันที่ต้องไปชัยนาทนะครับ และผมคงต้องไปชัยนาทบ่อยๆ นะครับ อีกไม่นานก็คงเป็นคนชัยนาทไปโดยปริยาย วันนี้เป็นอีกวันสำคัญที่ผมต้องพาคุณไมเคิล คุณคริสติน กลุ่มอาสาชาวต่างประเทศ และกลุ่มไม้ค้ำตะวัน ที่เป็นผู้สูงอายุขี่จักรยาน (แบบว่าขี่ไปถึงต่างประเทศด้วยนะครับ) ไปร่วมงานแถลงข่าวที่โรงแรมชัยนาทธานี ซึ่งจัดโดยสาธารณสุขจังหวัดชัยนาท ถือเป็นงานระดับจังหวัดครับ .....อ่านต่อ
6 เมษายน 2555 @ ร่วมประชุมกับเกษตรกรในประเด็นการจัดตั้งกลุ่ม หสม. และการดูแลผู้สูงอายุ คนพิการ ทั้งในภาวะปกติ และภาวะอุทกภัย ตอนที่ 2/2 : การจัดตั้ง หสม. และเทคนิคการเพิ่มผลผลิตข้าว : สวัสดีครับเพื่อนๆ ต่อเนื่องจากในช่วงต้นที่ผมกับพี่หนุ่มได้มีโอกาสมาอธิบายเกี่ยวกับเรื่องการจัดตั้ง หสม. และการใช้ปุ๋ยน้ำอินทรีย์ ที่มีเกษตรกรผู้ประสบภัยจำนวนหนึ่งได้ทดลองใช้แล้วได้ผลผลิตดี ไร่ละ 100-110 ถัง และผมก็ลองพิจารณาดูเห็นว่ามีปัจจัยเสริมอยู่ 4 ข้อที่น่าจะทำให้เกษตรกร สามารถเพิ่มผลผลิตข้าวได้ แต่ก็แอบคิดๆ นะครับว่า .....อ่านต่อ
14 มีนาคม 2555 @ ไปร่วมประชุมนำเสนอการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรรูปแบบเชิงพาณิชย์ เพื่อดูแลพื้นที่ของตัวเอง ในจังหวัดชัยนาท ตอนที่ 1/2 : สวัสดีครับเพื่อนๆ วันนี้เป็นวันที่ลุยๆ อีกวันหนึ่งเหมือนกันครับ สำหรับการลงพื้นที่จังหวัดชัยนาท เช่นเคยครับเราไปเริ่มต้นที่บ้านพี่ดวงพร อิฐรัตน์ เรามากัน 3 คนนะครับ คือพี่หนุ่ม ผม และโกวเล็ก เพราะว่าวันนี้เราจะไป 2 พื้นที่ คือ บ้านอ้อย สรรพยา และธรรมมูล ปรากฏว่ากำนันของชัยนาท มีไปประชุมที่อยุธยากันหมด ช่วงเช้าพี่หนุ่มกับโกวเล็ก จึงเปลี่ยนแผนเป็นพูดคุยกับชาวนาใกล้ๆ บริเวณอำเภอเมือง ส่วนผมไปแนะนำการใช้งานเครื่องพิมพ์ (พ่วงสแกนและถ่ายเอกสาร ไปในตัวครับ) ให้กับพี่ดวงพรครับ .....อ่านต่อ
27 กุมภาพันธ์ 2555 @ ร่วมกับทางภาคประชาชนจังหวัดชัยนาท พาชาวต่างชาติกลุ่ม BangkokVANGuards สำรวจพื้นที่ในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยในจังหวัดชัยนาท ตอนที่ 2/2 : สวัสดีครับเพื่อนๆ วันนี้ทริปสำรวจค่อนข้างแน่นมากๆ นะครับ แอบบอกว่าเหนื่อยมากๆ คู่กันไป แต่ว่าในใจของผม และทุกคนที่ไปด้วยกันนั้นผมว่า เต็มที่มากๆ เช่นกัน เพราะเรากำลังจะเปลี่ยนวิถีเกษตรเคมีของเกษตรกรให้เป็นเกษตรอินทรีย์ สำหรับตอนที่ 1/2 ผมอาจจะเน้นเรื่องด้านการท่องเที่ยว แต่สำหรับตอน 2/2 นี้ ผมจะเน้นด้านการเกษตร ตามโครงการถุงยังชีพถาวรเพื่อการฟื้นฟูผู้ประสบภัย ซึ่งแห่งแรกที่พาทุกคนไปดู หลังทานข้าวกลางวันเรียบร้อย คือที่นาของคุณมยุรี .....อ่านต่อ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น